Last updated: 18 ก.ค. 2567 | 681 จำนวนผู้เข้าชม |
จานดาวเทียม มีทั้งหมด 2 แบบ คือ C-Band และ Ku-Band แต่ละแบบจะมีลักษณะอย่าง รับสัญญาณดาวเทียมได้เหมือนกันไหม หรือใช้งานต่างกันอย่างไร มาอ่านกันเลย!
จานดาวเทียม แบบซีแบนด์ C-Band
จานดาวเทียม แบบ C-Band คือ จานดาวเทียมที่มีลักษณะโปร่งและมีขนาดใหญ่ ที่เรียกกันให้เข้าใจง่ายก็คือ จานตะแกรงดำ เพราะมักใช้สีดำกันซะส่วนใหญ่ อันที่จริงก็มีหลายยี่ห้อที่เป็นสีต่างๆ ออกมา เช่น สีขาว สีน้ำเงิน สีเหลือง สีทอง สีเขียว แต่ก็ไม่ได้รับความนิยมจากผู้บริโภคเท่าที่ควร ทางผู้ผลิตจึงยกเลิกการผลิตจานดาวเทียมแบบหลากสีลง จนปัจจุบันจานตะแกรงก็มีเฉพาะสีดำซะส่วนใหญ่ จึงมีอีกชื่อเรียกชื่อว่า "จานดำ"
ขนาดของจานดาวเทียม C-Band มีหลากหลายขนาด ให้เลือกใช้ตามลักษณะของงานติดตั้งแบบใด และต้องการรับสัญญาณจากดาวเทียมดวงไหน โดยภาษาที่ใช้เรียก ก็คือ จานดาวเทียมขนาดกี่ฟุต จานดาวเทียมขนาดกี่เซนติเมตร จานดาวเทียมขนาดกี่เมตร ได้แก่
+ จานดาวเทียมขนาด 150 ซม., 170 ซม.,180 ซม., 190 ซม.
+ จานดาวเทียมขนาด 5 ฟุต, 5.5 ฟุต, 6 ฟุต, 7.5 ฟุต, 10 ฟุต
+ จานดาวเทียมขนาด 1.5 เมตร, 1.7 เมตร, 1.8 เมตร
โครงสร้างก็จะแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ แบบชิ้นเดียว และแบบ 4 ชิ้น โดยจานดาวเทียมที่เป็นแบบชิ้นเดียวมักจะมีขนาดเล็ก เช่น 150 ซม. และ 5 ฟุต ส่วนจานดาวเทียมที่มีขนาดใหญ่มักจะเป็นแบบ 4 ชิ้น เพื่อสะดวกในการผลิต การขนส่ง และการติดตั้ง ทำให้กล่องไม่ใหญ่จนเกินไป
ผู้ผลิตจานดาวเทียมในประเทศไทย ก็มีอยู่หลากหลายยี่ห้อมาก ส่วนใหญ่จานดาวเทียมจะผลิตภายในประเทศ ยี่ห้อจานดาวเทียม อาทิเช่น SAMART, DYNASAT, PSI, INFOSAT, THAISAT, IDEASAT, dBy, LEOTECH เป็นต้น ปัจจุบันผู้ผลิตจานดาวเทียมในประเทศไทย ก็เหลือกันอยู่ไม่มีกี่ยี่ห้อแล้ว
การรับสัญญาณจากจานดาวเทียม C-Band จะมีการรับสัญญาณคลื่นความถี่กลับมาที่โลกในช่วง 3.4 - 4.2 GHz ซึ่งมีฟุตพริ้นต์ (footprint) ที่กว้างและคลอบคลุมพื้นที่ได้กว้างมาก สัญญาณความถี่ย่าน C-Band สามารถครอบคลุมพื้นที่และให้บริการได้ในหลายประเทศ ซึ่งส่วนมากสัญญาณดาวเทียมที่รับได้จากต่างประเทศ ส่วนใหญ่จะเป็นจานดาวเทียมประเภท C-Band
จานดาวเทียม แบบเคยูแบนด์ Ku-Band
จานดาวเทียม แบบ Ku-Band คือ จานดาวเทียมที่มีลักษณะทึบ และมีขนาดเล็กกว่าจานดาวเทียม แบบ C-Band จานดาวเทียม แบบ Ku-Band ที่เรียกกันให้เข้าใจง่ายก็คือ จานทึบ หรือ จานสี โดยจะมีหลายหลากสีเช่นกัน โดยจะขึ้นอยู่กับผู้ผลิต และผู้ประกอบการที่มีช่องความถี่ของตนเอง (Operator) อย่างเช่น
+ จานดาวเทียมสีแดง (จานทึบ) จานแดง ของทรูวิชั่น (true vision) : Operator ผู้ประกอบการที่มีช่องความถี่ของตนเอง
+ จานดาวเทียมสีดำ (จานทึบ) จานดำ ของพีเอสไอ PSI : ผู้ผลิตจานดาวเทียม & ผู้ประกอบการที่มีช่องความถี่ของตนเอง
+ จานดาวเทียมสีส้ม (จานทึบ) จานส้ม ของไอพีเอ็ม IPM : ผู้ผลิตจานดาวเทียม & ผู้ประกอบการที่มีช่องความถี่ของตนเอง
+ จานดาวเทียมสีเหลือง (จานทึบ) จานเหลือง ของดีทีวี DTV : Operator ผู้ประกอบการที่มีช่องความถี่ของตนเอง
+ จานดาวเทียมสีฟ้า (จานทึบ) จานฟ้า ของซีทีเอช CTH : Operator ผู้ประกอบการที่มีช่องความถี่ของตนเอง
+ จานดาวเทียมสีเขียว (จานทึบ) จานเขียว ของลีโอเทค LEOTECH : ผู้ผลิตจานดาวเทียม
+ จานดาวเทียมสีน้ำเงิน (จานทึบ) จานน้ำเงิน ของสามารถ SAMART : ผู้ผลิตจานดาวเทียม
+ จานดาวเทียมสีเทา (จานทึบ) จานเทา ของ SAMART, INFOSAT, AGC : ผู้ผลิตจานดาวเทียม
+ จานดาวเทียมแบบหลายหลากสี (จานทึบ) จานหลากสี ของไฮ HiSAT : ผู้ผลิตจานดาวเทียม
+ จานดาวเทียมแบบหลายหลากสี (จานทึบ) จานหลากสี ของไทยแซท THAISAT : ผู้ผลิตจานดาวเทียม
+ จานดาวเทียมแบบหลายหลากสี (จานทึบ) จานหลากสี ของอินโฟแซท INFOSAT : ผู้ผลิตจานดาวเทียม
ขนาดของจานดาวเทียม Ku-Band มีหลากหลายขนาด ให้เลือกใช้ตามลักษณะของงานติดตั้งแบบใด และต้องการรับสัญญาณจากดาวเทียมดวงไหน โดยภาษาที่ใช้เรียก ก็คือ จานดาวเทียมขนาดกี่เซนติเมตร จานดาวเทียมขนาดกี่เมตร ได้แก่
+ จานดาวเทียมขนาด 35 ซม., 45 ซม., 60 ซม., 75 ซม., 90 ซม., 120 ซม., 150 ซม.
+ จานดาวเทียมขนาด 1.2 เมตร, 1.5 เมตร (จานดาวเทียมขนาดใหญ่สำหรับงานโครงการ งานสเปค)
โดยส่วนมากบ้านเราจะนิยมจานดาวเทียมขนาด 35 ซม., 60 ซม., 75 ซม. ทำให้ขนส่งเคลื่อนย้ายและการติดตั้งได้ง่าย
โครงสร้างของจานดาวเทียม แบบ Ku-Band จะเป็นแบบชิ้นเดียว เนื่องจากขนาดจะไม่ใหญ่มากเหมือนจานดาวเทียมแบบ C-Band
การรับสัญญาณจากจานดาวเทียม แบบ Ku-Band จะมีการรับสัญญาณคลื่นความถี่กลับมาที่โลกในช่วง 10-12 GHz ซึ่งมีฟุตพริ้นต์ (footprint) ที่แคบกว้าง คลอบคลุมพื้นที่วงจำกัด ใช้ภายในประเทศ หรือประเทศใกล้เคียงเท่านั้น